วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุปงานทั้งหมด

1. หนังสือปริศนาคำทาย (ต๊อกแต๊ก คือ อะไร)
2. บัตรคำ (อักษร "ท")
3. ฉันชอบดื่มน้ำอะไร
4. คลิปเด็ก (คู่2คน)
5. คลิปเด็ก (กลุ่ม 4 คน) 

ปริศนา คำทาย
กล่องใส่บัตรคำ อักษร "ท"

บัตรคำ ที่ตักผง และ ทีวี


 เธอ ชอบ ดื่ม น้ำ อะไร


น้องเนเน่ อนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 


น้องกิจ ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
   1.ขณะถามน้องจะแกว่งชิงช้าไปด้วย
   2.ถ้าไม่ถามก็ไม่ตอบ
   3.ถามคำตอบคำ
   4.ต้องพูดเป็นแนวให้ น้องถึงจะพูด

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2555

- อาจารย์ตรวจสมุดปริศนาคำทาย และร่วมกันสนทนา หาข้อผิดพลาด และร่วมกันหาวิธีทำที่สมบูรณ์แบบ


- อาจารย์ให้ส่งงานทั้งหมด และนัดสอบปลายภาค


เธอ ชอบ ดื่ม น้ำ อะไร

กล่องใส่บัตรคำ ตัวอักษร "ท"

ปริศนา คำทาย

บัตรคำ ที่ตักผง และ ทีวี

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 15

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม 2555

- นำเสนองานที่ไปสัมภาษณ์น้อง และร่วมกันวิพากษ์วิจารย์เพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด


- อาจารย์ทบทวบเพลง ก-ฮ 


- จัดกลุ่มเพื่อทำบัตรคำ กลุ่มของดิฉันได้ตัวอักษร ท
- อาจารย์วิธีการทำบัตรคำ

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 14

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555


- อาจารย์ให้ดูตัวอย่างสมุดนิทาน เพื่อดูเป็นแนวทางในการทำของตนเอง












วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
(ชดเชย)


- อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปอะไรก็ได้ แล้วให้ออกไปเล่าเรื่องจากรูปที่วาดต่อๆกับเพื่อน
ลักษณะของภาษา
    เนื้อหาของภาษา ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่น ประกอบด้วยชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์
- หาอักษรสูง กลาง ต่ำ แล้วดูเสียงที่เหมือนกันแล้วจับเป็นคู่เพื่อง่ายในการจำ
    อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  
    อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ
    อักษรต่ำ มี 24 ตัว แบ่งเป็น
       - อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
       - อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล 
- ทำสมุดคำและร่วมกัน สนทนา เพื่อหาสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
- อาจารย์แจกกระดาษเพื่อวาดภาพสื่อเป็นภาษา เช่น แก้วตา วาดรูปตากับรูปแก้ว ปลาทอง วาดรูปปลากับทอง และให้ออกมาให้เพื่อนทายว่าคำที่เราวาดคือคิดว่าอะไร
- อาจารย์ให้แสดงท่าทางประกอบชื่อของตัวเอง ถ้ามีสามพยางค์ก็ทำสามท่า และหลังจากนั้นก็ทำของเพื่อนก่อน แล้วทำของตัวเอง


    
                                   

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์  2555

 -อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการสร้างภาพปริศนาคำทาย
     1.เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
เช่น พัดลม ทีวี องุ่น มังคุด รองเท้า ลิง ตะเกียบ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
     2.วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
เช่น พัดลม ดังรูป

     3.เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้น โดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
    4.นำมาเรียงลำดับ จากที่ยกตัวอย่างพัดลม ก็นำมาเรียงได้ คือ
         - เป็นสิ่งมีชีวิต หลายสี หลายขนาด
         - เป็นของใช้ในบ้าน
         - ใช้ไฟฟ้า
         - มีเลขกำกับความเย็น
         - มีใบพัด
    5.แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
- อาจารย์ให้ดูตัวอย่าง การแต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
- แบ่งกลุ่มแจกกระดาษเพื่อมอบหมายงานให้สร้างภาพปริศนาคำทาย กลุ่มละ 4 คน
อาจารย์อธิบายการสร้างภาพปริศนาคำทาย


ตัวอย่างการสร้างภาพปริศนาคำทาย

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์  2555
<ชดเชย>

การทำหนังสือภาพ
 
1.เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กได้มีประสบการณ์
 
     
ความคิดรวบยอด หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ ความเห็น หรือภาพสุดท้ายที่เกิดจากสิ่งเร้า หรือเหตุการณ์ของบุคคลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในลักษณะะเฉพาะของสิ่งนั้น อันเกิดจากประสบการณ์ที่เคยได้รับมาในสิ่งนั้น หรือในเรื่องนั้น หลายๆแบบมีลักษณะเป็นนามธรรม โดยกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบด้วย การรับรู้ การจัดประเภท การแยกแยะ และการสรุปครอบคลุ

      ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์

  2.คำว่า " อะไร" เป็นคำถามที่ผันเปลี่ยน เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า

- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเป็น 4 คน เพื่อไปหนังสือภาพ และให้ไปสัมภาษณ์เด็ก น้อง 1 คน ต่อนักศึกษา 1 คน แล้วมาสรุปรวมกันในกลุ่ม 4 คน

 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์  2555

- ดู E-BOOK เรื่อง แม่ไก่แดง

- ร่วมกัน สนทนา อภิปราย การทำนิทานE-BOOK
     1.ต้องมีสีที่ชัดเจน
     2.ตัวหนังสือต้องอ่านง่าย
     3.ใช้คำซ้ำๆ เพื่อช่วยในการจำของเด็ก
     4.ภาพต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา
     5.ภาพสมจริงมากที่สุด
     6.เสียงทีเล่าต้องตรงกับคำที่เขียน

- ความแตกต่างระหว่างการเล่านิทานโดยมีครูเล่ากับการเล่านิทานกับE-BOOK
1.การเล่านิทาน E-BOOK
    - เด็กจะฟังนิทานตอนไหนก็สามารถเปิดดูได้เลย
    - เป็นการสื่อสารทางเดียว
    - ปิดโอกาสในการแสดงความคิดของเด็ก
    - ไม่ได้สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะเด็กดูนิทาน
2.การเล่านิทานโดยครูเล่าเอง
    - เป็นการสื่อสาร 2 ทาง
    - สามารถเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดได้คิด
    - ถ้าครูไม่มีเวลาเล่า เด็กก็ไม่ได้ฟังนิทาน

- คำถามที่ดีที่จะถามเด็ก  ต้องเป็นคำถามที่ให้เด็กคิด จินตรนาการ เช่น คำว่า "อะไร" "ทำไม" "อย่างไร" "เพราะอะไร"

- เพลงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ภาษา เช่น
    เพลง ตา หู จมูก
          หู ตา จมูก จับให้ถูก  จับจมูก ตา หู
       จับใหม่จับให้ฉันดู        จับใหม่จับให้ฉันดู       
       จับ จมูก ตา หู              จับ หู ตา จมูก 
เราอาจจะใช้ภาพหู ตา จมูก แทนการเขียน เพื่อให้เด็กเกิดทักษะทางภาษามากขึ้น

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2555

- ดู power point ภาพ รักพ่อครับ ปฏิมา

- ร่วมกัน สนทนา อภิปราย ดูรูปนี้แล้วรู้สึกอย่างไร นึกถึงอะไร
    - นึกถึงพ่อ จากคำว่า พ่อ
    - นึกถึงผู้ชาย จากคำว่า ครับ
    - นึกถึงคนเขียน จากคำว่า ปฏิมา
    - นึกถึงพัฒนาการ ดูจาก การเขียน
    - นึกถึงความรักระหว่างพ่อกับลูก จากคำว่า รัก

- บทบาทของครูในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    1. เลือกวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้เหมาะสมกับระดับวุฒิภาวะ ทำให้การพัฒนาทักษะทางภาษาได้ดี
    2. เจตคติของครู หรือความรู้สึกที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางภาษา ย่อมแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง แววตา และคำพูดให้เด็กทราบและมองเห็นคุณค่าของการฝึกทักษะต่างๆ นอกจากนี้ครูยังพยายามหาวิธีการสอนและเวลาสำหรับฝึกทักษะให้กับเด็กด้วยความ สนใจ เอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
    3. ความสามารถในการใช้ภาษาของครู หากครูมีความสามารถในการเลือกใช้คำ หรือประโยคได้ถูกต้องและเหมาะสม ก็จะเป็นต้นแบบสำหรับเด็กได้
    4. การสอนของครู ครูมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ถ้าครูจัดกิจกรรม ฝึกทักษะทางภาษาให้เด็กได้ครบตามความมุ่งหมายและประเภทของแต่ละทักษะแล้ว การพัฒนาทักษะทางภาษาก็จะสมบูรณ์และมีประสิทธิผลสูง แต่ถ้าครูฝึกทักษะทางภาษาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง แต่ไม่นำทักษะด้านอื่นๆ มาสัมพันธ์หรือบูรณาการเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้เด็กขาดทักษะทางภาษาบางด้าน

     พัฒนาการทางภาษาของเด็กจะไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพตามลักษณะ ของช่วงวัย หากขาดการได้รับการดูแลเอาใจใส่ ตลอดจนการได้รับรูปแบบการสอนในการเพิ่มทักษะทางภาษาที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ จากทางครอบครัวและจากโรงเรียน ซึ่งหากเด็กได้รับการอบรมและเพิ่มพูนทักษะอย่างเหมาะสมก็จะมีพัฒนาการที่ สมบูรณ์พร้อมและมีรากฐานที่ดีในการเรียนรู้ทักษะต่างๆของชีวิตต่อไป

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2555
- เพื่อนนำเสนอวีดีโอ ที่ได้นำภาพไปให้น้องดู แล้วให้น้องบอกว่าเห็นอะไร

น้องกิจ ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
   1.ขณะถามน้องจะแกว่งชิงช้าไปด้วย
   2.ถ้าไม่ถามก็ไม่ตอบ
   3.ถามคำตอบคำ
   4.ต้องพูดเป็นแนวให้ น้องถึงจะพูด

- ดูวีดีโอ เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
โดย ดร.นฤมล เนียมหอม
1.นิทานมีผลต่อการพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
2.การเลือกนิทานต้องเลือกนิทานที่เด็กชอบ
3.เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคน เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าเขาก็สำคัญ 
4.เปิดโอกาสให้เด็กได้พูด เพื่อฝึกภาษา ถูกผิดไม่เป็นไร แต่ให้เขาได้มีโอกาสพูดดีกว่า ซึ่งจะทำให้เขากล้าแสดงออก
5.ออกแบบกิจกรรมโดยดูเด็กเป็นหลัก
6.ครูมีบทบาทสนับสนุนเด็ก เตรียมสื่อ อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาของเขา
7.ห้องเรียนก็มีส่วนในการพัฒนาของเด็ก ควรจัดให้เหมาะสมกับวัย ให้เขาเรียนรู้ภาษาโดยธรรมชาติ แล้วเขาจะมีความสุข

กดลิงค์นี้เพื่อดูวีดีโอ---->http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=519

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม*

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม*

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ*