วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555
(ชดเชย)


- อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปอะไรก็ได้ แล้วให้ออกไปเล่าเรื่องจากรูปที่วาดต่อๆกับเพื่อน
ลักษณะของภาษา
    เนื้อหาของภาษา ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่น ประกอบด้วยชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์
- หาอักษรสูง กลาง ต่ำ แล้วดูเสียงที่เหมือนกันแล้วจับเป็นคู่เพื่อง่ายในการจำ
    อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  
    อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ
    อักษรต่ำ มี 24 ตัว แบ่งเป็น
       - อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
       - อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล 
- ทำสมุดคำและร่วมกัน สนทนา เพื่อหาสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
- อาจารย์แจกกระดาษเพื่อวาดภาพสื่อเป็นภาษา เช่น แก้วตา วาดรูปตากับรูปแก้ว ปลาทอง วาดรูปปลากับทอง และให้ออกมาให้เพื่อนทายว่าคำที่เราวาดคือคิดว่าอะไร
- อาจารย์ให้แสดงท่าทางประกอบชื่อของตัวเอง ถ้ามีสามพยางค์ก็ทำสามท่า และหลังจากนั้นก็ทำของเพื่อนก่อน แล้วทำของตัวเอง


    
                                   

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์  2555

 -อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการสร้างภาพปริศนาคำทาย
     1.เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
เช่น พัดลม ทีวี องุ่น มังคุด รองเท้า ลิง ตะเกียบ หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
     2.วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
เช่น พัดลม ดังรูป

     3.เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้น โดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น
    4.นำมาเรียงลำดับ จากที่ยกตัวอย่างพัดลม ก็นำมาเรียงได้ คือ
         - เป็นสิ่งมีชีวิต หลายสี หลายขนาด
         - เป็นของใช้ในบ้าน
         - ใช้ไฟฟ้า
         - มีเลขกำกับความเย็น
         - มีใบพัด
    5.แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
- อาจารย์ให้ดูตัวอย่าง การแต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
- แบ่งกลุ่มแจกกระดาษเพื่อมอบหมายงานให้สร้างภาพปริศนาคำทาย กลุ่มละ 4 คน
อาจารย์อธิบายการสร้างภาพปริศนาคำทาย


ตัวอย่างการสร้างภาพปริศนาคำทาย

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์  2555
<ชดเชย>

การทำหนังสือภาพ
 
1.เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กได้มีประสบการณ์
 
     
ความคิดรวบยอด หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ ความเห็น หรือภาพสุดท้ายที่เกิดจากสิ่งเร้า หรือเหตุการณ์ของบุคคลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในลักษณะะเฉพาะของสิ่งนั้น อันเกิดจากประสบการณ์ที่เคยได้รับมาในสิ่งนั้น หรือในเรื่องนั้น หลายๆแบบมีลักษณะเป็นนามธรรม โดยกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบด้วย การรับรู้ การจัดประเภท การแยกแยะ และการสรุปครอบคลุ

      ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์

  2.คำว่า " อะไร" เป็นคำถามที่ผันเปลี่ยน เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า

- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเป็น 4 คน เพื่อไปหนังสือภาพ และให้ไปสัมภาษณ์เด็ก น้อง 1 คน ต่อนักศึกษา 1 คน แล้วมาสรุปรวมกันในกลุ่ม 4 คน

 

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์  2555

- ดู E-BOOK เรื่อง แม่ไก่แดง

- ร่วมกัน สนทนา อภิปราย การทำนิทานE-BOOK
     1.ต้องมีสีที่ชัดเจน
     2.ตัวหนังสือต้องอ่านง่าย
     3.ใช้คำซ้ำๆ เพื่อช่วยในการจำของเด็ก
     4.ภาพต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา
     5.ภาพสมจริงมากที่สุด
     6.เสียงทีเล่าต้องตรงกับคำที่เขียน

- ความแตกต่างระหว่างการเล่านิทานโดยมีครูเล่ากับการเล่านิทานกับE-BOOK
1.การเล่านิทาน E-BOOK
    - เด็กจะฟังนิทานตอนไหนก็สามารถเปิดดูได้เลย
    - เป็นการสื่อสารทางเดียว
    - ปิดโอกาสในการแสดงความคิดของเด็ก
    - ไม่ได้สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะเด็กดูนิทาน
2.การเล่านิทานโดยครูเล่าเอง
    - เป็นการสื่อสาร 2 ทาง
    - สามารถเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดได้คิด
    - ถ้าครูไม่มีเวลาเล่า เด็กก็ไม่ได้ฟังนิทาน

- คำถามที่ดีที่จะถามเด็ก  ต้องเป็นคำถามที่ให้เด็กคิด จินตรนาการ เช่น คำว่า "อะไร" "ทำไม" "อย่างไร" "เพราะอะไร"

- เพลงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ภาษา เช่น
    เพลง ตา หู จมูก
          หู ตา จมูก จับให้ถูก  จับจมูก ตา หู
       จับใหม่จับให้ฉันดู        จับใหม่จับให้ฉันดู       
       จับ จมูก ตา หู              จับ หู ตา จมูก 
เราอาจจะใช้ภาพหู ตา จมูก แทนการเขียน เพื่อให้เด็กเกิดทักษะทางภาษามากขึ้น